ในยุคนี้ใครๆก็ใช้ gps ติดรถยนต์ เพราะมีประโยชน์มากมายอำนวยความสะดวกรอบด้าน
gps ติดรถยนต์ รายงานสถานะต่างๆ GPS ติดตามรถ ช่วยให้รู้ข้อมูลที่สำคัญ เช่น ตำแหน่งในปัจจุบันสถานะปัจจุบัน (จอด วิ่ง หรือติดเครื่องอยู่กับที่) ความเร็วที่ใช้ ณ ปัจจุบัน เป็นต้น เก็บบันทึกรายงานย้อนหลัง ส่วนใหญ่ GPS ติดตามรถ จะมีรายงานย้อนหลังให้ สำหรับใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ เช่น การคำนวณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อวัน ระยะทางที่วิ่งต่อวัน ความเร็วเกินกำหนด ระยะเวลาการจอดติดเครื่องยนต์ เป็นต้น เพิ่มความปลอดภัยในการขนส่ง เนื่องจาก GPS ติดตามรถ สามารถทราบตำแหน่ง และความเร็วของยานพาหนะในปัจจุบัน ทำให้เตือนผู้
8 เหตุผลที่ควรเลือกใช้บริการ GTS
ติด GPS รถยนต์
ประสบการณ์มากกว่า 8 ปี
การันตีด้วยประกาศนียบัตรมากมาย
ทีมวิศวกรชั้นนำระดับประเทศ
พัฒนาซอฟต์แวร์ระบบโลจิสติกส์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
Call Center 24 ชั่วโมง
โทรกลับหาลูกค้าทุกสายหากคู่สายเต็ม
ศูนย์บริการมืออาชีพมากกว่า 50 จังหวัด
ให้ลูกค้ามั่นใจสามารถเข้าแก้ไขได้ทุกที่
ผ่านการรับรองกรมการขนส่ง
ออกใบรับรองได้ภายใน 1 ชั่วโมง
รับประกันอุปกรณ์ตลอดอายุการใช้งาน
ภายใต้สัมปทาน 3G
โปรแกรมใช้งานง่ายเพียง 2 คลิ๊ก
ตรวจสอบข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
บริการหลังการขายดีเยี่ยม
พูดคุยเป็นกันเองไม่ทอดทิ้งลูกค้า
ขับขี่เมื่อมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุ
รวมถึงมีระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติให้ผู้ขับขี่ และผู้ควบคุมทราบในทันที ที่มีปัจจัยเสี่ยงตามเงื่อนไข เช่น วิ่งความเร็วเกินที่กำหนด หรือ วิ่งออกนอกเส้นทางที่วางแผนไว้ เป็นต้น วางแผนเส้นทางการใช้รถล่วงหน้า GPS ติดรถยนต์ เป็นระบบที่สามารถช่วยวางแผนเส้นทางการทำงานล่วงหน้า และ มีระบบแจ้งเตือน เมื่อมีการทำงานนอกแผนงานที่วางไว้ ป้องกันการทุจริต
GPS ติดรถยนต์ มีระบบตรวจสอบระดับน้ำมันเชื้อเพลิง และสรุปสถานะ การจอดรถ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ในกรณีที่ต้องการตรวจสอบพนักงานว่าออกปฏิบัติงานตามหน้าที่จริงหรือไม่ เกิดการขโมยน้ำมันเชื้อเพลิงขณะออกปฏิบัติงานหรือไม่ เป็นต้น สะดวก ง่ายต่อการใช้งาน GPS ติดตามรถยนต์ สามารถเข้าดูข้อมูลรถพร้อมกัน ผ่านระบบ Internet website, Application (iOS / Android) ได้ตลอด 24 ชม.
GPS ติดรถ ป้องกันรถหายได้หรือไม่?
ปัจจุบันรถยนต์ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวัน ทั้งยังเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง จากสถิติการใช้งานรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ยังมีตัวเลขรถยนต์ที่มีการสูญหายในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นรถใหม่หรือรถเก่า เมื่อรถยนต์สูญหายเจ้าของรถจะต้องใช้ระยะเวลานานในการค้นหาติดตามเอารถคืน ส่วนใหญ่จะหาหลักฐานจากกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งอยู่ใกล้จุดที่รถสูญหาย ซึ่งต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูลหลายวัน และมีโอกาสได้รถกลับคืนน้อยมาก
กลุ่มรถโดยสารสาธารณะ ที่ต้องติดตั้ง GPS ขนส่ง
รถโดยสารสองชั้น รถบัส, รถบัส 2 ชั้น, รถตู้โดยสาร, รถ Taxi รถตู้ (ป้ายเหลือง) การติดตั้ง GPS ขนส่ง คลอบคลุมทั้งรถ ประจำทาง ไม่ประจำทาง
สำหรับรถโดยสารสาธารณะที่ยกเว้นติด GPS ขนส่ง มีดังนี้
– รถสองแถว
– รถหมวด 4
– รถหมวด 1 ภูมิภาค
กลุ่มรถบรรทุกขนส่ง ที่ต้องติดตั้ง GPS ขนส่ง
– รถลากจูง
– รถบรรทุกขนาดใหญ่ (10 ล้อขึ้นไป)
– รถขนวัตถุอันตราย
หลักการทำงานของ GPS ขนส่ง เป็นอย่างไร
– คนขับรถต้องรูดใบขับขี่ก่อนขับรถทุกครั้ง หากไม่รูดบัตรหรือใช้บัตรผิดประเภท
จะมีเสียงร้องเตือนจนกว่าจะใช้บัตรที่ถูกประเภทรูด
– เครื่อง GPS ขนส่ง จะส่งข้อมูลคนขับรถและตำแหน่งพร้อมความเร็วไปยัง Server ของกรมการขนส่งทางบกโดยผ่านระบบเครือข่ายสัญญาณมือถือทุก 1 นาที
– ผู้ประกอบการสามารถดูตำแหน่งรถและรายงานต่าง ๆ ผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ ได้ตลอด 24 ชม. และดูย้อนหลังได้อย่างน้อย 6 เดือน
– ข้อมูลจะถูกส่งตรงไปยังกรมการขนส่งทางบกตลอด 24 ชม.
หลักการทำงานของ GPS
เครื่องรับ GPS จะทำหน้าที่ในการเปลี่ยนสัญญาณดาวเทียมเป็นตำแหน่ง (X,Y,Z) ความเร็ว (Speed) และ เวลา (Time) และต้องใช้ดาวเทียมอย่างน้อย 3 ดวงในการระบุตำแหน่ง GPS ประกอบด้วยทั้งหมด 3 ส่วน คือ ส่วนอวกาศ ส่วนควบคุม และ ส่วนผู้ใช้
เมื่อนำมาประยุกต์เข้ากับระบบ Microcontroller อุปกรณ์ประกอบ(I/O) และระบบ Communication network เราจึงสามารถนำอุปกรณ์ GPS เข้ามาทำงานต่างๆที่สัมพันธ์กับตำแหน่งได้ [อุปกรณ์แต่รุ่นมีความสามารถไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับการเลือกใช้งาน]
– วัดความเร็วรอบของเครื่องยนต์
– วัดอุณหภูมิและระดับน้ำมันในถัง
– ตรวจนับการเปิด-ปิด อุปกรณ์ เช่น ประตู
– ควบคุมการทำงานจากอุปกรณ์ภายนอก เช่น Start-Stop เครื่องยนต์
– การต่อพ่วงอุปกรณ์ภายนอกแบบ Analog และ Digital เช่น Gauge Meter เครื่องรูดบัตร พนักงาน ขับ เครื่องวัดปริมาณน้ำมันที่เครื่องยนต์บริโภคจากหัวฉีด(Fuel Intelligence)และจอแสดงผลต่างๆ ฯลฯ
ประเภทลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ต้องติดตั้ง GPS
- – รถโดยสารประจำทาง ให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร หรือ วิ่งระหว่างกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้แก่ รถตู้ รถเมล์ รถปรับอากาศ ยกเว้นรถสองแถว
- – รถโดยสารประจำทาง วิ่งในเส้นทางกรุงเทพฯไปต่างจังหวัด
- – รถโดยสารไม่ประจำทาง ยกเว้นรถสองแถว
- – รถบรรทุก ลักษณะ 1,2,3,5 รถ 10 ล้อ ขึ้นไป รถลักษณะ 9 (รถหัวลาก)
สำหรับรถโดยสารสาธารณะที่ยังไม่ได้ติดตั้ง GPS
- – รถโดยสารสองชั้นกำหนดติดตั้งภายในรอบปีภาษี 2559
- – รถโดยสารสาธารณะประเภทอื่นๆ จะต้องดำเนินการติดตั้งให้ครบถ้วนภายในรอบปีภาษี 2560
- – รถลากจูงกำหนดติดตั้งภายในรอบปีภาษี 2560
- – รถบรรทุกสาธารณะภายในรอบปีภาษี 2561
- – รถบรรทุกส่วนบุคคลให้ระยะเวลาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในรอบปีภาษี 2562
คุณลักษณะของเครื่องบันทึกการเดินทางของรถ และการติดตั้ง
- 1. เป็นเครื่องที่ผ่านการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว ติด gps รถยนต์ ประกอบด้วยเครื่อง GPS และ เครื่องรูดใบขับขี่
- 2. ผู้ประกอบการติดตั้งเองและสามารถเชื่อมข้อมูล(ด้วยโปรแกรม)ไปยังศูนย์บริหารจัดการเดินรถ(ขนส่ง)
- 3. ใช้บริการของผู้ให้บริการติดตามรถ(ที่มีอยู่แล้ว) ที่สามารถเชื่อมข้อมูลกับศูนย์บริหารจัดการเดินรถ
- 4. ผู้ให้บริการติดตามรถออกใบรับรองการติดตั้ง และติดเครื่องรับรองหรือใบรับรองเครื่องบันทึกการเดินทางของรถไว้ที่เครื่องหรือที่ใกล้ๆ เห็นได้ชัดเจน
วิธีแสดงใบรับรองเครื่องที่ถูกต้อง คือ
- – ใบรับรองเครื่องที่ถูกต้อง คือได้รับการรับรองอนุญาตให้ใช้จากกรมการขนส่งทางบกแล้ว มีตรากรมการขนส่งทางบกมุมบนซ้าย
- – ใบรับรองเครื่องเดิมที่ติดตั้งไว้ก่อนมีประกาศนี้และก่อนวันที่ 25 มกราคม 2559 (ติดด้วยความสมัครใจ ตามความจำเป็นในกิจการ) และสามารถเชื่อมข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถได้ จะไม่มีตรากรมกรมการขนส่งทางบกที่มุมบนซ้าย
- – ใบรับรองการติดตั้งและเครื่องรับรองหรือใบรับรองเครื่องจะเป็นหลักฐานใช้แสดงเมื่อนำรถไปตรวจสภาพเพื่อจดทะเบียนหรือต่ออายุประจำปี
ขั้นตอนเข้ารับการติดตั้ง
- 1. กรณีรถป้ายแดง โปรดเตรียมเอกสารดังนี้ให้กับผู้ให้บริการ
- – สำเนาเช่า/ซื้อ ขายรถ หรือใบแจ้งจำหน่าย ที่มีเลขตัวถังรถ หรือเลขคัสซี
- – สำเนาบัตรประชาชน และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
- 2. กรณีต่อทะเบียนรถ โปรดเตรียมเอกสารดังนี้ให้กับผู้ให้บริการ
- – สำเนาหน้าเล่มรถที่มีเลขตัวถังรถ หรือเลขคัสซี
- – สำเนาบัตรประชาชน และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
สนใจ เเอดไลน์ LINE : @GeniusGPS