เทคโนโลยี ชีวภาพ คือ
เทคโนโลยีชีวภาพ คือ เทคโนโลยีซึ่งนำเอาความรู้ทางด้านต่างๆของวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต หรือผลผลิตของสิ่งมีชีวิต เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นทางการผลิตหรือทางกระบวนการ ของสินค้าหรือบริการ เพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่เราต้องการ โดยสามารถใช้ประโยชน์ทางด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทางการแพทย์ เป็นต้น
เทคโนโลยีชีวภาพเบื้องต้น
เทคโนโลยีชีวภาพ คือ ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีส่วนในการทำให้มนุษย์มีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต มีเทคโนโลยีสาขาหนึ่งที่มีผลกระทบต่อมนุษย์โดยตรงที่จะทาให้มนุษย์มีปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ เทคโนโลยีดังกล่าวคือเทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology)
1.1 ความหมายของเทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพเกิดจากการนาคำที่มีความหมาย 3 คำมารวมกัน โดยเริ่มจาก Bio หรือ Bios ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิตและตามด้วย Techno หรือ Technikos ซึ่งแปลว่าเครื่องมือ ส่วนคำสุดท้ายคือ logy หรือ logos ซึ่งแปลว่าการศึกษา เมื่อรวมความหมายของทั้ง 3 คำจึงได้ ความหมายของเทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ คือ การนำความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต หรือกระบวนการของปฏิกิริยาชีวเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตมาประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับมนุษย์ (ภาพที่ 1.1) เช่น การผลิตขนมปัง การผลิตยาปฏิชีวนะ การสร้างพันธุ์พืชต้านทานโรค การใช้จุลินทรีย์ (microorganism) บำบัดน้าเสีย และการใช้จุลินทรีย์ผลิตก๊าซไฮโดรเจน เป็นต้น นอกจากนี้ เทคโนโลยีชีวภาพตามความหมายของ องค์กร OECD (Organization for Economic Co – operative and Development) หมายถึง การประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อผลิต ผลิตภัณฑ์ โดยใช้สารชีวภาพเป็นสารตั้งต้น
1.2 ประวัติศาสตร์เทคโนโลยีชีวภาพ
คำว่าเทคโนโลยีชีวภาพมีการเริ่มใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1919 โดยนักเศษฐศาสตร์ชาวฮังการี ชื่อว่า Karoly(Karl) Ereky (Bains W. , 2004)เป็นต้นมา ในสมัยต้นๆ เทคโนโลยีชีวภาพจะมีความเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์เป็นหลัก ในอดีตก่อนหน้าที่จะมีคาว่าเทคโนโลยีชีวภาพนั้นก็มีการนาความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ประโยชน์ และมีการพัฒนาความรู้จนถึงปัจจุบัน
1.2.1 เทคโนโลยีชีวภาพสมัยเก่า (classical biotechnology)
เทคโนโลยีชีวภาพสมัยเก่านั้นเป็นการใช้ความรู้ทางด้านจุลชีววิทยา (microbiology) และกระบวนการหมัก (fermentation) เพื่อผลิตเครื่องดื่มหรืออาหารให้แก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การใช้เชื้อยีสต์ (yeast) ผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โดยใช้กระบวนการหมัก การผลิตกรดน้าส้มสายชูโดยเชื้อแบคทีเรียสกุลอะซีโตแบคเตอร์ (Acetobacter sp.) การผลิตยาปฏิชีวนะเพนนิซิลิน (penicillin) โดยเชื้อราสกุลเพนนิซิลเลียม (Penicillium sp.) เป็นต้น ต่อมาในยามสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศอังกฤษขาดแคลน อะซีโตน ซึ่งเป็นสิ่งสาคัญในสงคราม ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพก็ได้นามาใช้ในการผลิตอะซีโตนจากแป้ง ทาให้เกิดเป็นอุตสาหกรรม ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีการใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตยาปฏิชีวนะ เช่น การผลิตยาเพนิซิลินจากรา เป็นต้น
1.2.2 เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ (modern biotechnology)
เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการพัฒนาความรู้ทางด้านชีววิทยาระดับโมเลกุลที่มีความก้าวหน้าอย่างสูง โดยเฉพาะการพัฒนาความรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสารพันธุกรรม (genetic material) ซึ่งก่อให้เกิดการปรับปรุงพันธุ์สิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่จะมีความเกี่ยวข้องระดับเซลล์หรือต่ากว่าระดับเซลล์ นั่นหมายถึงยีน (gene) หรือมีเทคโนโลยีเกี่ยวกับยีนมาเป็นส่วนสาคัญในการพัฒนาความรู้ต่อไปในอนาคต (มาลี สุวรรณอัตถ์, 2527)
จากที่กล่าวถึงการพัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพทั้งสมัยเก่าและใหม่นั้นก็เกิดจากการทางานของนักวิทยาศาสตร์จากอตีดถึงปัจจุบันในที่นี้จะขอยกตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสาคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
– Robert Hooks (ค.ศ. 1665)
ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์เลนส์ประกอบและเป็นคนแรกที่สังเกตเห็นเซลล์(cell)ในไม้คอรก์
– Antony Van Leeuwenhoek (ค.ศ. 1675)
ได้ค้นพบจุลินทรีย์ต่างๆที่อยู่ในหยดน้าโดยใช้กล้องจุลทรรศน์
– Gregor Mendel (ค.ศ. 1863)
ได้ทำการทดลองทางพันธุศาสตร์โดยใช้ถั่วลันเตาทาให้เกิดกฎทางพันธุศาสตร์โดยสรุปว่าต้องมีปัจจัยอะไรซักอย่างที่ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิต
– Friederich Miecher (ค.ศ. 1869)
ได้ค้นพบสารพันธุกรรมที่เรียกว่าดีเอ็นเอจากปลาเทราซ์ (trout)
– Louis Pasteur (ค.ศ. 1870)
ได้ค้นพบกระบวนการหมักและศึกษาการเน่าเสียของอาหารว่าเกิดจากจุลินทรีย์
– James Watson and Francis Crick (ค.ศ. 1953)
ได้ค้นพบโครงสร้างของดีเอ็นเอ โดยใช้เทคนิค X – ray diffraction
– Paul Berg (ค.ศ. 1972)
ได้ทำการสร้างดีเอ็นเอลูกผสม (recombinant DNA) และได้มีการย้ายดีเอ็นเอลูกผสมจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่ง
1.3 สาขาและการประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพมีความเป็นสหสาขาวิชา (multidisciplinary) คือเป็นการรวมความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ชีววิทยา (biology) ชีววิทยาของเซลล์ (cell biology) พฤกษศาสตร์ (botany) สัตว์วิทยา (zoology) สรีรวิทยา (physiology) จุลชีววิทยา พันธุศาสตร์ (genetics) ชีวเคมี (biochmistry) คณิตศาสตร์ (mathematics) วิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science) และวิศวกรรมเคมี (chemical enginering) เป็นต้น จากความรู้ที่หลากหลายดังที่กล่าวไปทาให้เกิดสาขาใหม่ ๆ ที่ใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่ พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) วิศวกรรมเอนไซม์ (enzyme engineering) เทคโนโลยีการหมัก (fermentation technology) และวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ (bioprocess engineering) ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดในบทต่อ ๆ ไป (ภาพที่ 1.2)
ในปัจจุบันการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพมีการพัฒนาก่อนให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ เช่น การศึกษาพันธุกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต ที่เรียกว่า จีโนมิกส์ (genomics) การศึกษาเรื่องของเซลล์ในระดับลึก ที่เรียกว่า เซลล์โลมิกส์ (cellomics) นาไปสู่ความเข้าใจสิ่งมีชีวิตในระดับเนื้อเยื่อ ก่อให้เกิดความรู้ที่เรียกว่า วิศวกรรมเนื้อเยื่อ (tissue engineering) เทคโนโลยีชีวภาพกับคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ตมีการทางานรวมกันโดยนาข้อมูลรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ทาเป็นฐานข้อมูลและใช้ในการสืบค้นโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เรียกสาขาวิชาทางด้านนี้ว่า ชีวสารสนเทศ (bioinformatics) นอกจากเรื่องนี้แล้ว ยังใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทานายโครงสร้างโปรตีนที่เปลี่ยนไปเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนในสายโพลีเปปไทด์ (polypeptide) หรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้างสภาวะจาลอง (simulation) ของกระบวนการหมัก
จากความรู้ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น เทคโนโลยีชีวภาพมีความเกี่ยวข้องกับความรู้หลายสาขา ดังนั้นจึงแบ่งออกโดยอาศัยชนิดของสิ่งมีชีวิตได้เป็น 3 หัวข้อ ดังนี้
1.3.1 เทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์ (microbial biotechnology)
จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กได้แก่ แบคทีเรีย(bacteria) ยีสต์(yeast) และรา(mold) เป็นต้น จุลินทรีย์มีความสาคัญต่อกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพ เนื่องจากเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกันนั้นยังผลิตสารต่าง ๆ ที่มนุษย์ต้องการได้อย่างมีความหลากหลาย มีการนา
จุลินทรีย์มารวมกับความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2544)
1.3.1.1 เทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์กับอาหาร
มีการนำจุลินทรีย์จาพวกยีสต์บางชนิดมาทาเป็นอาหารที่เรียกว่าโปรตีนเซลล์เดียว (single cell protein , SCP) กระบวนการผลิต คือ นายีสต์มาเลี้ยงในถังหมัก (reactor) ที่สามารถควบคุมภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญของยีสต์ ทาให้ได้ผลผลิตยีสต์จานวนมาก เมื่อผ่านกระบวนการหมัก นอกจากนี้จุลินทรีย์ยังสามารถช่วยทาให้เกิดอาหารที่มีรสชาดแตกต่างและทาให้อาหารน่ารับประทานเพิ่มขึ้น เช่น แบคทีเรียแลกติก (lactic acid bacteria) ก่อให้เกิดนมเปรี้ยว โยเกิร์ต หรืออาหารพวกแหนม จุลินทรีย์จาพวกราใช้ในการทาซีอิ๊วและเต้าเจี้ยว กระบวนการหมักที่เกิดขึ้นโดยจุลินทรีย์ยังสามารถผลิตสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น การผลิตกรดอะมิโน หรือเอนไซม์ (enzymes)
1.3.1.2 เทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์กับการแพทย์
ได้มีการนาเอาจุลินทรีย์มาใช้ในการผลิตยาปฏิชีวนะหลายชนิดเช่น ยาเพนนิ-
ซิลลิน จากเชื้อรา Penicillium notatum เครื่องติดตามรถ มีการใช้แบคทีเรียในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน(insulin hormone) เพื่อใช้รักษาโรคเบาหวาน ฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต (growth hormone) เพื่อใช้รักษาโรคแคระแกร็นของมนุษย์ และสารอินเทอร์ฟีรอน (interferon) เพื่อใช้รักษาโรคมะเร็ง
1.3.1.3 เทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์กับสิ่งแวดล้อม
ในธรรมชาติจุลินทรีย์ทาหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ ดังนั้นจึงมีการนาเอาจุลินทรีย์ มาใช้เพื่อย่อยสลายสารต่างๆ เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยเช่น ใช้จุลินทรีย์อีเอ็ม (effective microorganism) ร่วมกับจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในการหมักเศษพืช เศษอาหาร และซากอินทรีย์สารทาให้ได้น้าหมักชีวภาพหรือปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้รดต้นไม้ทาให้ต้นไม้เจริญเติบโตดี นอกจากนี้ยังใช้แบคทีเรีย (Pseudomonas sp. และ Acinetobacter sp.) ย่อยสลายคราบน้ามันที่ปนเปื้อนในทะเลได้ ซึ่งมีผลทาให้สิ่งแวดล้อมสะอาดขึ้น นอกจากนี้ยังใช้จุลินทรีย์เพื่อผลิตพลังงานทดแทนเช่น ผลิตแก๊สชีวภาพ (biogas) ซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการหมักจุลินทรีย์กับเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและใช้ยีสต์ในการผลิตแอลกอฮอล์ โดยนายีสต์มาหมักรวมกับกากน้าตาลเพื่อให้ได้แอลกอฮอล์ แล้วนาแอลกอฮอล์ไปผสมกับน้ามันเบนซินเพื่อทาเป็นแก๊สโซฮอล์ (gasohol) และในอนาคตจะมีพลังงานสะอาดที่ไม่ทาลายสิ่งแวดล้อมซึ่งได้จากจุลินทรีย์เช่น การใช้จุลินทรีย์ผลิตพลังงานไฮโดรเจนและผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น
1.3.2 เทคโนโลยีชีวภาพพืช (plant biotechnology)
ในระบบนิเวศพืชทาหน้าที่เป็นผู้ผลิตและเป็นอาหารสาหรับสัตว์รวมถึงมนุษย์ด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการขยายพันธุ์พืชเพื่อให้ได้พืชจานวนมากและมีการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อให้ได้พันธุ์พืชที่ตรงกับความต้องการของมนุษย์ เทคโนโลยีที่นามาใช้คือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (plant tissue culture) ซึ่งเป็นการขยายพันธุ์พืชโดยใช้ชิ้นส่วนหรือเซลล์ของพืชมาเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์เพื่อให้ได้ต้นพืชที่ตรงตามความต้องการของมนุษย์และได้ปริมาณมากในระยะเวลาสั้น นอกจากนี้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชยังนามาใช้ประโยชน์ในการผลิตพืชที่ปราศจากโรคและการสร้างพืชที่มีจานวนโครโมโซมเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดิม ในปัจจุบันได้มีการนากระบวนการทางพันธุวิศวกรรมพืชเข้ามาใช้เพื่อตัดแต่งยีนของพืช โดยการใส่ยีนที่ไม่ใช่ของพืชเข้าไปในพืชเช่น นายีนที่สร้างสารพิษของแบคทีเรียที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bacillus thuringiensis (บีที : Bt) ใส่เข้าไปในพืชบางชนิด (เช่น ฝ้าย ข้าวโพด และถั่วเหลือง) เพื่อทาให้พืชสามารถสร้างโปรตีนที่เป็นพิษต่อแมลง แต่ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์เป็นผลทาให้มีการฉีดยาฆ่าแมลงน้อยลง นอกจากนี้ยังมีการสร้างพันธุ์มะละกอที่สามารถต้านทานต่อโรคไวรัสจุดด่างวงแหวน ประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการจีโนม(genome) ข้าวนานาชาติ โดยรับผิดชอบในเรื่องการหาลาดับเบสในโครโมโซมคู่ที่ 9 ของข้าวและค้นหายีนในข้าวที่ทนต่อสภาพแห้งแล้ง ยีนที่ให้ความหอม และยีนที่ทนต่อสภาพน้าท่วม ในอนาคตจะมีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพพืชเพื่อสร้างพืชที่ผลิตพลาสติก ข้าวสีทองที่มีวิตามินเอสูงและพืชที่สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคได้
1.3.3 เทคโนโลยีชีวภาพสัตว์ (animal biotechnology)
เทคโนโลยีชีวภาพสัตว์มีจุดเริ่มต้นมาจากเมื่อสามารถเปลี่ยนถ่ายนิวเคลียสซึ่งเป็นแหล่งรวมพันธุกรรมในกบได้เป็นผลสาเร็จ ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านนี้ได้ก้าวหน้าไปไกลมาก โดยเมื่อ พ.ศ. 2540 ดร. เอียน วิลมุต ใช้กระบวนการโคลนนิ่ง (cloning) สร้างแกะที่มีลักษณะเหมือนกับแกะที่เป็นเจ้าของเซลล์ต้นกาเนิดทุกประการได้เป็นผลสำเร็จ แล้วตั้งชื่อแกะที่ได้จากการโคลนนิ่งนี้ว่า “ ดอล-ลี่ ” ซึ่งเป็นแกะที่ถูกสร้างขึ้นจากเซลล์ของแกะที่โตเต็มที่แล้ว ในปัจจุบันได้ทาการทดลองโคลนนิ่งในสัตว์หลายชนิดเช่น ลิง แมว วัว และม้า
เทคโนโลยีชีวภาพสัตว์ที่มีผลโดยตรงต่อมนุษย์คือ โครงการจีโนมมนุษย์ (human genome project) ซึ่งเป็นการอ่านรหัสพันธุกรรมทั้งหมดของมนุษย์ ซึ่งรหัสพันธุกรรมนี้ประกอบด้วยเบสสี่ชนิดได้แก่ อะดีนีน (A) กวานีน (G) ไซโทซีน (C) และไทมีน (T) มาเรียงต่อกันจนกลายเป็นพันธุกรรมของมนุษย์ โครงการจีโนมมนุษย์มีประโยชน์ในการรักษาโรคทางพันธุกรรม โดยลาดับเบสในพันธุกรรมของคนที่เป็นโรคทางพันธุกรรมจะไม่เหมือนกับลาดับเบสในพันธุกรรมของคนปกติ ซึ่งวิธีการรักษาทาได้โดยการเปลี่ยนลาดับเบสในพันธุกรรมของคนที่เป็นโรคให้เหมือนกับของคนปกติ ซึ่งวิธีการรักษาในลักษณะนี้เรียกว่า การบาบัดโรคด้วยยีน (gene therapy)
ในปัจจุบันมีการตัดต่อยีนในสัตว์เพื่อสร้างสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมที่ให้ประโยชน์แก่มนุษย์หลายชนิดเช่น การผลิตปลาที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยมีการนายีนที่สร้างฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตใส่เข้าไปในปลา มีการสร้างสัตว์ปีกที่ทนทานต่อโรค การผลิตสัตว์ที่สามารถผลิตยาและวัคซีนรักษาโรคได้
ในประเทศไทยได้มีใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอในการตรวจวินิจฉัยโรคหัวเหลือง (เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย) และตัวแดงจุดขาวในกุ้งกุลาดา (เกิดจากเชื้อไวรัส) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวซึ่งเป็นผลทาให้มูลค่าการส่งออกกุ้งของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีชีวภาพสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทาวิจัยที่เกี่ยวกับการโคลนนิ่งมนุษย์จะต้องคานึงถึงเรื่องของชีวจริยธรรม (bioethics) ให้มากขึ้น
นอกจากการแบ่งสาขาทางเทคโนโลยีชีวภาพ ตามประเภทของสิ่งมีชีวิตแล้ว เทคโนโลยีชีวภาพยังสามารถแบ่งสาขาได้ตามการประยุกต์ใช้ ซึ่งมีหลาย ๆ ด้าน เช่น เทคโนโลยีชีวภาพอาหาร (food Biotechnology) เทคโนโลยีชีวภาพการแพทย์ (medical Biotechnology) เทคโนโลยีชีวภาพสิ่งแวดล้อม (environmental Biotechnology) เทคโนโลยีชีวภาพโปรตีน (protein Biotechnology) เทคโนโลยีชีวภาพอวกาศ (space Biotechnology) เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม (industrial Biotechnology) นาโนเทคโนโลยีชีวภาพ (nano- Biotechnology) เป็นต้น
1.4 การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพในประเทศไทย
ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสาคัญของเทคโนโลยีชีวภาพต่อการพัฒนาประเทศ ว่ามีความสาคัญต่อการพัฒนาประเทศ จึงได้จัดตั้งหน่วยงานศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (National Center for Genetic Engineering and Biotechnology : BIOTEC) ขึ้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2526 ภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม จนกระทั่งอีก 8 ปีต่อมา ในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2534 จึงได้ร่วมเป็นหน่วยงานภายใต้ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (ส.ว.ท.ช.) (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2546) ปัจจุบันศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพตั้งอยู่ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี มีภารกิจในการสร้างความรู้ความเข้าใจและความสามารถของประเทศให้มีความพร้อมในการจัดการเทคโนโลยีที่สาคัญบนพื้นฐานของข้อมูลและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์
กลับสู่หน้าหลัก http://thinng.com