เทคโนโลยีทางการแพทย์

เทคโนโลยี ทางการแพทย์

เทคโนโลยี ทางการแพทย์

เทคโนโลยี ทางการแพทย์ – นวัตกรรมทางการแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีการแพทย์เป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเราจึงมุ่งมั่นในการพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ระดับตติยภูมิชั้นนำในภูมิภาคอาเซียนภายใน พ.ศ. 2560 และเป็นเครื่องการันตีสำหรับลูกค้าของโรงพยาบาลได้ว่า จะได้รับการบริการที่มีคุณภาพอย่างดีที่สุดภายใต้ความปลอดภัยมาตรฐานระดับโลก

เทคโนโลยีเข้าไปมีบทบาทและพลิกวิธีการทำงานของผู้คน คือ วงการสุขภาพ เทคโนโลยีได้กลายมาเป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมงานด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บและการป้องกันดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยี ทางการแพทย์ ดร. ทัศนีย์วรรณ ลักษณะโสภิณ อาจารย์จากหลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมสัมมนา และชวนผู้เข้าร่วมให้นึกถึงเรื่องที่ใกล้ตัวมากขึ้น เช่น มือถือ แม้ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่เราสามารถใช้ผ่านโทรศัพท์มือถือ แต่หลายคนอาจจะนึกไม่ถึงว่า โทรศัพท์มือถือที่เรามีกันอยู่เกี่ยวข้องกับประเด็นสุขภาพและโรคติดต่อได้เช่นกัน อาจารย์ได้ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เข้าไปร่วมเป็นทีมพัฒนาระหว่างศึกษาระดับปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ที่สามารถตรวจหาเชื้อ HIV และซิฟิลิสได้ด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือ โดยเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้ plastic card ซึ่งมีสารละลายสำหรับตรวจโรคควบคู่ไปกับ application ในโทรศัพท์มือถือ โดยอาศัยหลักการเดียวกับการตรวจเบื้องต้นในแล็บที่ใช้ chemical reaction 

 

เทคโนโลยีนี้เป็นเสมือนการนำห้องแล็ปขนาดใหญ่มาไว้ในมือเรา (lap-on-chips) 

ซึ่งช่วยให้สามารถทำการตรวจคัดกรองเบื้องต้นได้ในราคาที่ถูกลง ใช้เวลาระหว่างการตรวจไปจนถึงรู้ผลตรวจน้อยลง โดยวิธีการก็ง่ายดาย แค่เพียงเจาะเลือด — ใส่ลงใน plastic card — ใส่ login เข้าแอพพลิเคชั่น — เอา device ประมวลผลมา plug in — รอผล 15 นาที ก็เสร็จแล้ว! ง่ายๆแค่นี้เอง โดยที่ผ่านมามีการไปทำการลงพื้นที่เพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์ที่รวันดา ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อ HIV อยู่ที่ 6–10% และคนส่วนใหญ่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาล ผ่านการร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในพื้นที่

 

แม้ว่าปัจจุบัน เครื่องมือชุดนี้ยังไม่ได้ส่งขอการรับรอง แต่จากการเทียบกับค่ามาตรฐานพบว่า gps กันรถหาย ผลที่ได้จากการวิเคราะห์เลือดผ่านการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวดังกล่าวให้ผลใกล้เคียงกับ ELISA Test ที่ใช้ในแล็บทั่วไป นอกจากนั้น ยังส่งผลดีในแง่ของการลดขั้นตอนการตรวจคัดกรองเลือดที่ซับซ้อนและใช้เวลายาวนานให้ง่ายและรวดเร็วขึ้นได้ด้วย

 

Laparoscopic surgery

 

การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic surgery) เป็นการผ่าตัดผ่านรูเล็กๆ ที่เจาะผ่านผนังหน้าท้องเข้าไปในช่องท้อง โดยใช้กล้องเรียวเล็กเข้าไปส่องดูอวัยวะในช่องท้องด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ศัลยแพทย์จะดูภาพผ่านจอทีวีขณะที่ทำผ่าตัดด้วยเครื่องมือ ผ่านรูเล็กๆ เหล่านี้ สามารถขยายภาพที่กำลังผ่าตัดให้เห็นชัดกว่าธรรมดาโดยกระทบกระเทือนต่ออวัยวะ ภายในน้อยที่สุดลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เสียเลือดมาก พักฟื้นไม่นานแผลหายเร็ว สามารถผ่าได้ทุกวัย

หัตถการโดยการผ่าตัดผ่านกล้อง

 

ตัดถุงน้ำรังไข่ ตัดเนื้องอกใยมดลูก ตัดมดลูก ส่องตรวจเพื่อวินิจฉัย อุ้ง เชิงกราน ผ่าตัดเนื้อเยื้อมดลูกเจริญผิดที่ ตัดถุงน้ำดี ตัดไส้ติ่ง ส่อง ตรวจเพื่อวินิจฉัยช่องท้องส่วนบน ไส้เลื่อน เลาะพังผืด ตัดไต นิ่วในไต

 

Endoscopic surgery

 

ภาวะความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร โรคในระบบทางเดินอาหารเป็นโรคที่พบบ่อย หากไม่ทำการรักษา อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ โรคที่พบได้บ่อยตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรง เช่น โรคกรดไหลย้อน อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเสีย ตับอักเสบ มะเร็งในกระเพาะอาหารและลำไส้ และมะเร็งตับ

 

โรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร

โรคกรดไหลย้อน nbsp;โรคหลอดเลือดดำที่หลอดอาหารโป่งพอง โรคแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบ โรคนิ่วในทางเดินน้ำดีและตับอ่อนอักเสบ โรคลำไส้ ใหญ่อักเสบและแผลในลำไส้ใหญ่ โรคติ่งเนื้อที่ลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งกระเพาะ อาหาร โรคมะเร็งลำไส้ โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร

 

Hybrid Operating Room

 

ห้องผ่าตัดเป็นสถานที่ให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยวิธี ผ่าตัด และตรวจพิเศษ ทุกกลุ่มอายุ โดยมีทีมศัลยแพทย์เฉพาะทาง ทีมผ่าตัดและการบริการวิสัญญีให้การสนับสนุนเพื่อให้การผ่าตัดประสบความ สำเร็จและปลอดภัย  กล่าวคือผู้รับบริการทุกคนมีความปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ สามารถตอบสนองความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้ใช้บริการ

 

1.ระบบระบายอากาศ

– Hepa filter

– Positive pressure

– อุณภูมิภายใน 20-21 องศาเซลเซียส

– ความชื้นสัมพัทธ์ 35-65%

 

2.ระบบแสงสว่าง

– ปลั๊กไฟฟ้าทุกตัวได้มาตราฐานโรงพยาบาล ( Hospital , grade )

– ระบบไฟ UPS (Uninterupted Power Supply)

 

3.ระบบ Gas และเครื่องดูดสูญญากาศ

– ไม่ก่อให้เกิดไฟฟ้าสถิต และมีสัญญานเตือนในแต่ละห้อง เมื่อเกิดความดันผิดปกติ

– มีการตรวจสอบปริมาตรให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

 

4.เครื่องมือและอุปกรณ์

– ตรวจสอบความพร้อมใช้และประสิทธิภาพการทำงานทุกวัน

– ตรวจสอบมาตรฐาน (Calibrate) และดูแลรักษาโดยผู้ชำนาญจากบริษัทภายนอก

 

Digital Mammogram

 

การตรวจเอ็กซเรย์เต้านมระบบดิจิตอล ซึ่งเป็นวิธีในการตรวจพบความผิดปกติของเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

–  เป็นเครื่องเอกซเรย์ชนิดพิเศษที่ผู้รับบริการจะได้รับปริมาณรังสีต่ำ

–  สามารถแยกความแตกต่างของไขมัน และเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ ของเต้านมได้ชัดเจน

–  สามารถเห็นเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งระยะเริ่มต้นได้เป็นอย่างดี

–  เป็นเครื่องมือที่ให้ผลถูกต้อง และแม่นยำได้สูงถึง 90 %

 

การเตรียมตัวก่อนตรวจแมมโมแกรม

1.ไม่ควรนัดตรวจแมมโมแกรมในช่วงให้นมบุตร หรือเมื่อท่านรู้สึกคัดตึงเต้านม หรือในช่วง 1สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน เพราะจะทำให้ท่านเจ็บระหว่างตรวจมากว่าช่วงเวลาอื่นโดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการตรวจแมมโมแกรม คือ ช่วงหลังหมดประจำเดือน

2.ในวันที่ตรวจแมมโมแกรม ไม่ควรทาแป้ง สารระงับกลิ่นกาย หรือโลชั่น บริเวณรักแร้,หรือทรวงอกเนื่องจากสิ่งเหล่านี้ อาจทำให้เกิดจุดบนภาพ ทำให้การวินิจฉัยคลาดเคลื่อน 

3.สำหรับท่านที่เคยตรวจแมมโมแกรม ควรนำภาพและผลการตรวจเดิมมาด้วยเพื่อให้รังสีแพทย์ใช้เปรียบเทียบ

4.ในกรณีที่ท่านสงสัยว่า อาจจะตั้งครรภ์ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ หรือแพทย์ก่อนตรวจแมมโมแกรมทุกครั้ง 

  1. หากท่านมีปัญหาเกี่ยวกับเต้านม เช่น คลำพบก้อนหรือมีของเหลวไหลออกจากหัวนมโดยไม่ทราบสาเหตุ ท่านควรแจ้งนักรังสีการแพทย์ ผู้ทำการถ่ายภาพให้ทราบก่อนทำการตรวจ

6.หากท่านมีการเสริมเต้านมจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง เนื่องจากการตรวจแมมโมแกรม อาจทำให้เกิดการรั่วของถุงได้ แม้จะมีโอกาสเกิดน้อยมาก

 

Dental

เครื่องมือที่ใช้ในงานทันตกรรมเป็น เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยและถูกต้องตามหลักการแพทย์สมัยใหม่ ทั้งนี้ยังมีผู้ช่วยทันตแพทย์ที่มีความเป็นมิตรกับลูกค้า คอยดูแลเอาใจใส่ ให้บริการต้วยคุณภาพและมีความเป็นกันเอง บริการด้วยรอยยิ้มแจ่มใส

การให้บริการ

 

ทันตกรรมบูรณะเพื่อความสวยงาม ฟอกสีฟัน ฟอกฟันขาว ทันตกรรมโรคเหงือก ทันตกรรมจัดฟัน   ทันตกรรมรากเทียม ศัลยกรรมช่องปาก ทันตกรรมสำหรับเด็ก 

 

อาการที่เกิดจากเหงือก

เลือดออกตามไรฟันฟันขณะแปรงฟัน เหงือกบวมแดง มีกลิ่นปาก เหงือกร่น อาจมีหนองออกตามร่องเหงือก

 

อาการที่เกิดจากฟัน

ปวดฟัน สีฟันคล้ำ ฟันบิ่น ฟันห่าง ฟันโยก ฟันหาย

128-Slice CT Scan

128-Slice CT Scan เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดความเร็วสูง

ภาพ 3 มิติ มีความแม่นยำสูง ปลอดภัย อีกหนึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ของศิครินทร์

 

  • ตรวจภาวะเส้นเลือดสมองตีบตัน
  • ตรวจหาความผิดปกติของปอด
  • ค้นหาความผิดปกติของเส้นเลือดหัวใจ
  • ตรวจหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่

 

MRI (Magnetic Resonance Imaging)

 

การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

คือ เทคนิคการสร้างภาพทางการแพทย์ที่ใช้ในรังสีวิทยาเพื่อการตรวจทางกายวิภาค และสรีรวิทยาของร่างกายทั้งในด้านสุขภาพและโรคต่างๆโดยเครื่องตรวจที่ใช้ สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุความเข้มสูงในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะภาย ในต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะ สมอง หัวใจ กระดูก-กล้ามเนื้อ และส่วนที่เป็นมะเร็ง ด้วยคอมพิวเตอร์รายละเอียดและความคมชัดสูง เป็นภาพตามระนาบได้ทั้งแนวขวาง แนวยาวและแนวเฉียง เป็น 3 มิติ ภาพที่ได้จึงจะชัดเจนกว่า การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ การตรวจทางการแพทย์ด้วยเครื่องมือชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แก่ร่างกาย และไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง

 

ประโยชน์จากMRI

  1. สามารถให้ภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อ ได้อย่างชัดเจน ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น
  2. ใช้ได้ดีกับการตรวจสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง  เส้นประสาทในร่างกาย กล้ามเนื้อ ตรวจเส้นเลือดได้ โดยไม่ต้องเสี่ยงกับการฉีดสารทึบรังสี และการสวนสายยาง ซึ่งมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์แผนปัจจุบัน
  3. การตรวจด้วยเครื่อง MRI ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อเพราะไม่ใช้คลื่นรังสี
  4. ปัจจุบันการตรวจด้วยเครื่อง MRI  สามารถตรวจพบความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว มีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค สามารถบอกขอบเขตของโรคได้ทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาโรคต่อไป

 

โรคที่สามารถวินิจฉัยด้วยเครื่องMRIได้

  • ตรวจสมอง
  • ตรวจหัวใจ
  • ตรวจอวัยวะในช่องท้องและทรวงอก
  • ตรวจกระดูกสันหลังระบบกล้ามเนื้อและข้อ
  • ตรวจหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำทั่วร่างกาย
  • ตรวจระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่าง
  • ตรวจท่อทางเดินน้ำดี และถุงน้ำดี
  • ตรวจเต้านม

 

การเตรียมตัวก่อนการตรวจและการปฏิบัติตัวขณะตรวจ

  1. กรณีผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือ ไม่ต้องงดน้ำ และอาหารก่อนตรวจ
  2. กรณีผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือ ต้องได้รับยานอนหลับ  หรือยาสลบ ต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 4 – 6 ชั่วโมง ก่อนตรวจ
  3. กรณีตรวจอวัยวะในช่องท้องหรือตรวจระบบทางเดินน้ำดี ต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 4 – 6 ชั่วโมง ก่อนตรวจ
  4. ควรงดใช้เครื่องแต่งหน้าบางชนิดก่อนตรวจ เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได้
  5. ระหว่างการตรวจผู้ป่วยต้องไม่ขยับ หรือเคลื่อนไหวส่วนที่ตรวจเพื่อจะได้ภาพชัดเจน
  6. ขณะตรวจจะมีเสียงดังจากเครื่องเป็นระยะๆ จะมีฟองน้ำอุดหู เพื่อลดเสียง
  7. ระยะเวลาในการตรวจขึ้นอยู่กับอวัยวะที่จะตรวจเฉลี่ยประมาณ 30 – 40 นาที

 

อาการที่ควรมารับการตรวจ MRI

– ในผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี ควรมาตรวจ MRI  ของช่องท้อง หามะเร็งตับ

– มีประวัติว่าบิดาหรือมารดาเป็นเส้นเลือดในสมองแตก  สมองโป่งพอง (Intracerebral Aneurysm) ควรมาตรวจ MRA เส้นเลือดสมอง

– เป็นโรคลมชัก

– มีอาการปวดหัว แขนขาอ่อนแรง หมดสติบ่อยๆ ความจำเสื่อมสับสน คลื่นใส้อาเจียน อาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน เสียการทรงตัว ปากเบี้ยว หนังตาตก ลิ้นชาแข็ง ควรมาตรวจ MRI สมอง

– ปวดคอ ปวดหลัง ชาลงแขนหรือลำตัว ขาลีบ แขนหรือขาอ่อนแรง แขนขากระตุก สมรรถภาพทางเพศลดลง ควบคุมปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้

        ควรมาตรวจ MRI ของกระดูกสันหลัง

– หายใจหอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม ไอเรื้อรังไม่มีสาเหตุ เจ็บหน้าอก กลืนน้ำหรืออาหารลำบาก   ควรมาตรวจ MRI ของทรวงอก

– ตัวเหลืองตาเหลืองคลื่นไส้อาเจียน เจ็บบริเวณชายโครง ท้องโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ควรมาตรวจ MRI ของช่องท้องหรือท่อทางเดินน้ำดีและถุงน้ำดี

– ปวดท้องน้อยเป็นประจำ มีเลือดออกจากช่องคลอด ปัสสาวะเป็นเลือด  ปัสสาวะขัด ควรมาตรวจ MRI ของอุ้งเชิงกราน

– ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อไม่ว่าจะเป็นข้อเข่า  ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อนิ้ว ข้อตะโพก ข้อเท้า ควรมาตรวจ MRI ของข้อนั้นๆ

 

ข้อพึงระวัง MRI 

  • ควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่กลัวที่จะอยู่ในที่แคบๆ ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้ (claustrophobic) 
  • ควรหลีกเลี่ยงในรายที่มีโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่น 

  – ที่ผ่าตัดติดคลิปอุดหลอดเลือดในโรคเส้นเลือดโป่งพอง (Aneurism Clips)  

  – metal plates ในคนที่ดามกระดูก 

  – คนที่เปลี่ยนข้อเทียม 

  – คนที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม (Artificial Cardiac valve) 

  – ผู้ที่ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ  

  – ผู้ที่ผ่าตัดใส่อวัยวะเทียมภายในหู 

  – ผู้ป่วยที่ใส่ Stent ที่หลอดเลือดหัวใจต้องสอบถามจากแพทย์ที่ใส่ Stent ว่าเป็น Stent ชนิดใดจะทำ MRI ได้หรือไม่หรือต้องรอกี่สัปดาห์ค่อยทำ

 

ปัจจุบัน Stent ที่หลอดเลือดหัวใจ ถ้าเป็นรุ่น MRI compatible สามารถทำได้ทันทีไม่มีผลเสียใดๆ 

  • ควรหลีกเลี่ยงในคนที่เตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัด สมอง ตา หรือ หู ซึ่งจะต้องฝังเครื่องมือทางการแพทย์ไว้ (medical devices) 
  • ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุที่ลูกตา และสงสัยว่าจะมีโลหะชิ้นเล็กๆกระเด็นเข้าไปในลูกตาหรือมีอาชีพเกี่ยวข้องกับ โลหะ และมีความเสี่ยงต่อการมีโลหะชิ้นเล็กๆ

   กระเด็นเข้าลูกตา ซึ่งถ้าเข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กอาจมีการ  เคลื่อนที่ของโลหะชิ้นนั้นก่อให้ เกิดอันตรายได้ (ภาพเอกซเรย์ธรรมดาของตาจะช่วยบอกได้

   ว่ามีหรือไม่มีโลหะ  อยู่ในลูกตา) 

  • ใส่เหล็กดัดฟัน ถ้าต้องทำ MRI ตรวจในช่วงบริเวณ สมองถึงกระดูกคอควรต้องถอดเอาเหล็กดัดฟัน  ออกก่อน เพราะจะมีผลต่อความชัดของภาพ  
  • ผู้ ที่รับการตรวจร่างกายด้วย MRI จะต้องนำโลหะต่างๆออกจากตัว เช่น กิ๊ฟหนีบผม ฟันปลอม ต่างหู เครื่องประดับ ATM บัตรเครดิต นาฬิกา

  thumbdrive Pocket PC ปากกา ไม่เช่นนั้น อาจทำให้สิ่งของได้รับความเสียหาย และอาจถูกฉุดกระชาก นอกจากนี้ยังทำให้ภาพที่อยู่บริเวณโลหะไม่ชัด 

  • ไม่ควรใช้อายชาโดว์ และมาสคาร่า เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได้ 
  • จาก ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่พบว่าการตรวจ MRI มีอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆไม่ควร ตรวจในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
  • ห้อง ตรวจ MRI มีสนามแม่เหล็กแรงสูงตลอดเวลา มีผลต่อการทำงานของเครื่องมือที่ไวต่อแม่เหล็ก เช่นเครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ

 

โลหะทุกชนิดที่เหนี่ยวนำแม่เหล็ก  เช่น เหล็กโลหะ การ์ดที่ใช้แถบแม่เหล็ก เช่น ATM , บัตรเครดิต , นาฬิกา ,thumb drive หรือพวกเครื่อง Pocket PC

 

Cardiac Catheterization Lab

ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ Cath Lab

อีกหนึ่งแนวทางของการพัฒนา เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ได้มาตรฐาน และให้ผลที่แม่นยำสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือดคือ ห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization Lab) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Cath Lab เป็นห้องพิเศษที่มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการประมวลภาพหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดตามส่วนอื่นๆของร่างกายโดยภาพจะปรากฏขึ้นที่จอและบันทึกเป็นเทปโทรทัศน์ระบบดิจิตอลสามารถปรับหมุนได้รอบทิศทางตรวจดูซ้ำได้อย่างละเอียดทำให้แพทย์ได้ภาพจากทุกมุมตามต้องการได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน

การตรวจสวนหัวใจ เป็นการวินิจฉัยโรควิธีหนึ่ง ซึ่งเอื้อประโยชน์หลายอย่างต่อการดูแลรักษาโดยทำการตรวจเพื่อดูตำแหน่งผิดปกติและความรุนแรงของหลอดเลือดหัวใจตีบตันดูความผิดปกติของลิ้นหัวใจ การหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจหากพบความผิดปกติ เส้นเลือดหัวใจตีบอุดตันแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็จะทำการรักษาได้โดยการใส่บอลลูนขยายและ/หรือใส่ขดลวดถ่างขยาย (Stent)

วิธีการตรวจ โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะใส่ท่อสายพลาสติกขนาดเล็กที่ปราศจากเชื้อโรคเข้าสู่หลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบข้อแขนข้อพับจุดใดจุดหนึ่งย้อนเข้าไปสู่หัวใจและไปจ่ออยู่ตรงทางออกของหลอดเลือด จากนั้นฉีดสีผ่านท่อนี้พร้อมกับถ่ายรูปของหลอดเลือด และของหัวใจ โดยใช้กล่องเอกซเรย์พิเศษ เมื่อตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจและฉีดสีแล้วหากพบรอยโรคหัวใจมีการตีบตัน และแสดงผลว่าสามารถทำบอลลูนใส่ขดลวดได้แพทย์สามารถสวนรักษาควบคู่ได้ในคราวเดียวกันโดยการฉีดยาชาเฉพาะจุดและใช้เข็มขนาด 1.5 – 2 มิลลิเมตรเจาะใส่ลวดนำทางวางสายนำทางในหลอดเลือด เพื่อนำสายสวนไปยังหลอดเลือดหัวใจทำการวินิจฉัย โดยจะทราบผลทันทีหลังการตรวจ

แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจด้วยการสวนหัวใจในกรณีการวินิจฉัยด้วยวิธีการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์การทำกราฟหัวใจ, การตรวจสารต่างๆในเลือด, การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ,การวิ่งสายพานและอัลตร้าซาวนด์หัวใจการตรวจวินิจฉัยว่ามีลักษณะการตีบที่รุนแรง หรือการรักษาทางยาไม่ได้ผลเมื่อประมวลผลแล้วมีข้อบ่งชี้ของหลอดเลือดหัวใจตีบตันจึงวินิจฉัยขั้นสุดท้ายด้วยการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ เพื่อวางแผนการรักษาขั้นต่อไป

 

กลับสู่หน้าหลัก https://thinng.com