ยุคเทคโนโลยี ar

เทคโนโลยี ar

เทคโนโลยี ar

 

เทคโนโลยี ar – ในยุคที่เทคโนโลยี และนวัตกรรม คือตัวชี้ชะตาให้กับธุรกิจต่างๆ ท่ามกลางพฤติกรรม ของผู้บริโภคในยุคดิจิตอล ที่มีสมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ตเพื่อเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต อันถือเป็นปัจจัยที่ 5 ของการใช้ชีวิตของคนยุคนี้ ที่ขาดไปเสียมิได้ ส่งผลให้ธุรกิจ และบริการต่างๆ ต้องปรับตัวรุกเข้าสู่ ธุรกิจออนไลน์ กระโจนเข้าสู่อินเทอร์เน็ต และช่องทางด้านโซเชียล มีเดียกันแบบกระบวนทัพใหญ่ ทั้งธุรกิจความบันเทิง อุตสาหกรรม ค้าปลีก การศึกษา หรือแม้แต่ ธุรกิจสื่อ ก็ต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง เข้าสู่ยุคออนไลน์

 

เทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริม หรือ เออาร์ (AR : Augmented Reality Technology) ที่สามารถผนวกโลก แห่งความเป็นจริง และโลกดิจิตอลเข้าด้วยกัน บนเทคโนโลยี เสมือนจริงที่แสดงภาพดิจิตอล ซ้อนทับบนสภาพแวดล้อม ของจริงได้ เพื่อสร้างความดึงดูด น่าสนใจ และ มุมมองเพิ่มเติมแก่สินค้าและบริการต่างๆ 

 

เทคโนโลยีนี้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลง การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งต่างๆ รอบตัว ประสบการณ์ AR ที่กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ทุกคนพูดถึงในขณะนี้ คงไม่พ้น เกมบนมือถือสุดฮิตอย่างโปเกมอน โก ‘Pokemon Go’ ที่ทำให้คนคลั่งไคล้ไปทั่วโลก เกมนี้ก็เป็นสิ่งที่มาช่วยพิสูจน์ว่า เทคโนโลยี AR ได้ก้าวเข้าสู่ตลาดผู้บริโภค เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหน ผู้คนก็ตามหาโปเกมอนจากสถานที่ต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นบนแผนที่ นี่เป็นสัญญาณชี้ถึงอนาคตที่สดใสของ AR ด้วย นอกจากนี้ เทคโนโลยี AR ยังมีแนวโน้ม ที่จะผสมผสานกับเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตที่จะเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน หรือ Internet of Things ทำให้สามารถใช้งานบนอุปกรณ์ สมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ ได้ทั้ง แว่นตา สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอแสดงผลอัจฉริยะ เพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้กับสินค้า และบริการต่างๆ ได้

 

ขั้นตอนการทำเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ

1.การวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็นขั้นตอนการค้นหา Marker จากภาพ ที่ได้จากกล้องแล้ว สืบค้นจากฐานข้อมูล (Marker Database) ที่มีการเก็บข้อมูล ขนาดและรูปแบบของ Marker เพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบ ของ Marker การวิเคราะห์ภาพ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ การวิเคราะห์ภาพโดยอาศัย Marker เป็นหลักในการทำงาน (Marker based AR) และการวิเคราะห์ภาพ โดยใช้ลักษณะต่างๆ ที่อยู่ในภาพมาวิเคราะห์ (Marker-less based AR)

2.การคำนวณค่า ตำแหน่งเชิง 3 มิติ (Pose Estimation) ของ Marker เทียบกับกล้อง

3.กระบวนการสร้างภาพ สองมิติ จากโมเดลสามมิติ (3D Rendering) เป็นการเพิ่มข้อมูล เข้าไปในภาพ โดยใช้ค่าตำแหน่ง เชิง 3 มิติ ที่คำนวณได้จนได้ภาพเสมือนจริง

 

AR นััน ต้องมีการประมวลผลภาพ เป็น2หรือ3มิติขึ้นมา ให้เข้ากับลักษณะของ สภาพพื้นที่จริง ดังนั้นแล้ว การประมวลผลคร่าวๆ จะเป็นดังนี้

1.โทรศัพท์จะต้องรับรู้ การเคลื่อนไหวของเครื่องโทรศัพท์ หรือ Motion Tracking โดยมีข้อมูล คือการเคลื่อนไหว ของโทรศัพท์ ในแนวแกน x, y, z เพื่อให้ซอร์ฟแวร์ รู้ว่าจะต้องประมวลผลภาพเสมือนนั้น ให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเคลื่อนไหว โทรศัพท์นั่นเอง ถ้ายกตัวอย่างง่ายๆคือ ถ้าจำลองแมวตัวหนึ่งขึ้นมา โดยแมวจะอยู่ห่างจากโทรศัพท์ 1 เมตรเสมอ เมื่อเราเคลื่อนโทรศัพท์ไปรอบๆแมว เราก็จะสามารถเห็นแมวในแต่ละด้านได้นั่นเอง

2.ข้อมูลกายภาพของสภาพพื้นที่จริง หรือ Area learning เช่น กำแพง พื้นหรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ ถ้าอธิบายตัวอย่างง่ายๆคือ จากแมวตัวเดิมในข้อ1 เราจะเห็นแมวลอยๆ ถ้าหากเรา เดินผ่านโต๊ะ แมวที่ควรจะห่าง1เมตร จะกลายเป็นอยู่หน้าโต๊ะ ทำให้ไม่สมจริงได้ ดังนั้นซอร์ฟแวร์ถึงต้องเรียนรู้กายภาพ ของพื้นที่จริง ถึงจะแสดงภาพได้ถูกต้อง เช่น เมื่อเจอโต๊ะ ก็ซ่อนแมวไปหลังโต๊ะ เป็นต้น

3.ความลึก(ห่าง)ของพื้นที่ หรือ Depth Perception ซึ่งจะทำให้เครื่องรู้ว่าระยะภาพนั้น ห่างจากโทรศัพท์ ขนาดไหน เมื่อได้ระยะแล้ว ซอร์ฟแวร์จะสามารถ คำนวณการวางวัตถุเสมือนได้ถูกระยะ

 

เมื่อการทำงานของ AR  นั้นต้องการข้อมูล3แบบที่กล่าวมาในการประมวลผล ให้สมจริง ดังนั้นโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์ที่จะรองรับ AR ก็จะต้องมีฮาร์ดแวร์ดังนี้

 

  1. Depth Sensing ซึ่งรับข้อมูล ความลึก – ระยะห่าง
  2. Motion Tracking หรือเซนเซอร์รับการเคลื่อนไหว

 

และเมื่อได้การเคลื่อนไหวและระยะห่างแล้ว ก็จะสามารถหาลักษณะกายภาพ ของพื้นที่ได้ จึงทำให้ซอร์ฟแวร์สามารถประมวลผล ภาพเสมือนได้สมจริงนั่นเอง

 

ข้อดีจากการนำระบบ AR มาใช้

 

1.เป็นการสร้างประสบการณ์ ที่แปลกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า ที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ชอบและสนใจเทคโนโลยี

2.ผู้ใช้บริการสามารถค้นหา ตำแหน่งและรายละเอียด ของสินค้าที่ตนต้องการ ได้อย่างถูกต้องชัดเจน

3.บริษัทสามารถสร้าง Campaign ต่างๆ เพื่อสร้าง ความสนใจในตัวสินค้า จึงสามารถดึงดูด ลูกค้าและเพิ่มยอดขาย

4.เพิ่มโอกาส ของการค้าทาง Internet (E-commerce) เนื่องจากการผู้ซื้อ สามารถเห็นภาพจำลอง ของตนและสินค้าก่อนทำการสั่งซื้อสินค้า จึงเป็นการเปิดตลาด ให้มีผู้ใช้บริการช่องทางนี้ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งทั้งนี้ยังส่งผลต่อไป ยังผู้ที่ต้องการลงทุน ทำธุรกิจ โดยช่วยลดค่าใช้จ่าย ในการลงทุนเนื่อง จากไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านเพื่อ ให้บริการจึงไม่ต้องเสียค่าเช่า สถานที่ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ฯลฯ

 

ข้อเสียจากการนำระบบ AR มาใช้

 

1.ไม่เหมาะกับกลุ่มคนที่ low technology หรือกลุ่มคนที่อาจไม่ได้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีมากนักเนื่องจากว่าการนำเสนอด้วยรูปแบบนี้ผู้ใช้จำเป็นต้องมีกล้อง Web Cam และเครื่องพิมพ์ในกรณีที่เป็นการ print ตัว Marker ผ่านหน้าเว็บไซต์

2.เข้าถึงผู้บริโภคในกลุ่มที่จำกัดโดยผู้ใช้บริการต้องมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างดีเนื่องจากการใช้เทคโนโลยี AR ต้องอาศัยอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์หลายอย่าง

3.การที่มีกลุ่มผู้บริโภคจำกัด ทำให้อาจไม่คุ้มกับการลงทุนของบริษัทในการวางระบบเครือข่ายต่างรวมทั้งการทำฐานข้อมูลต่างๆ เช่น การทำฐานข้อมูลของร้านค้า หรือสถานที